รายละเอียดเพิ่มเติม
เมล็ดพันธุ์มะแว้งต้น
มะแว้งต้นจัดอยู่ในวงศ์มะเขือ
สมุนไพรมะแว้งต้น
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แว้งคม (สุราษฎร์ธานี, สงขลา), มะแคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ), หมากแข้ง หมากแข้งขม (ภาคอีสาน), มะแว้ง มะแว้งต้น (ทั่วไป), สะกังแค สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เทียนเฉีย ชื่อเทียนเฉีย (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของมะแว้งต้น
ต้นมะแว้งต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 1 -1.5เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กและกลม เนื้อแข็ง เป็นสีเขียวอมเทา แตกกิ่งก้าน ทั้งต้นมีขนนุ่มสีเทาขึ้นปกคลุม และมีหนามแหลมขึ้นกระจายอยู่ทั่วต้น ส่วนเปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำมากและความชื้นในปริมาณปานกลาง สามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบ ชายป่าที่โล่งแจ้งและที่รกร้างริมทาง สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และคาดว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชียซึ่งรวมทั้งประเทศและอินเดียด้วย
ใบมะแว้งต้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลมเล็กน้อย โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักเว้ามนเข้าหาเส้นกลางใบและมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หลังใบ ท้องใบ และก้านใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุม โดยท้องใบจะมีขนหนาแน่นหลังใบ มีหนามสั้น ๆ และมีก้านใบยาว
ดอกมะแว้งต้น ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือปลายกิ่งประมาณ 3-6 ดอก ดอกเป็นสีม่วงอ่อน มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใจกลางของดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 ก้าน เชื่อมติดกันกับโคนกลีบดอก ปลายกลีบดอกจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก ปลายแหลม คล้ายรูปดาว ก้านดอกมีหนามเป็นตุ่มเล็ก ๆ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แหลม ปลายแหลม ด้านนอกมีขน
ผลมะแว้งต้น ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผิวผลเรียบเกลี้ยงและมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียวหรือสีขาวไม่มีลาย ส่วนผลสุกเป็นสีแดงส้มหรือเป็นสีเหลืองอมส้ม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร หรือมีขนาดเท่ากับมะแว้งเครือ แต่จะมีสีเขียวมากกว่า และมีรสขมจัดกว่า โดยภายในผลมะแว้งต้นจะมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปกลมแบน สีน้ำตาลอ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก
สรรพคุณของมะแว้งต้น
- รากและผลมีรสขมเปรี้ยว เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก, ผล) ส่วนใบก็มีสรรพคุณบำรุงธาตุเช่นกัน (ใบ)
- ใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ราก, ใบ, ผล)
- ผลสุกและผลดิบมีรสขื่นเปรี้ยว ช่วยแก้โรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้บ้าง (ผล) ด้วยการใช้ผลมะแว้งต้นโตเต็มที่ประมาณ 10-20 ผล นำมารับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้ปวดฟัน (ราก, ผล)
- ช่วยแก้ไซนัส (ราก, ผล)
- รากและใบช่วยแก้วัณโรค (ราก, ใบ)
- ช่วยแก้ไข้สารพัดพิษ แก้ไข้เพื่อเสมหะในคอ (ผล)ส่วนรากมีรสขมขื่นเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
- สรรพคุณของรากมะแว้งในบางตำราระบุว่าใช้ระงับความร้อน (ราก)
- ตำรายาไทยจะใช้ผลเป็นยาแก้ไอ โดยใช้ได้ทั้งผลแห้งและผลสดประมาณ 5-10 ผล นำมาตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมารับประทาน (ผล) ส่วนใบและรากก็เป็นยาแก้ไอเช่นกัน (ใบ, ราก)
- ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลประมาณ 5-10 ผลนำมาตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย นำมารับประทาน (ผล) ส่วนรากช่วยกัดเสมหะ ขับเสมหะ
- ช่วยแก้คอแห้ง (ผล)
- ช่วยแก้ผิดสำแดง (ผล)
- ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (ราก, ผล)
ประโยชน์ของมะแว้งต้น
- ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดได้ โดยอาจนำไปลวกหรือเผาจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหาร ทำแกง หรือใช้ประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสขม เช่น แกงใส่ปลาแห้ง หรือน้ำพริก เป็นต้น โดยผลมะแว้งต้นจะมีวิตามินเอค่อนข้างสูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง
- นอกจากผลอ่อนแล้ว ยอดอ่อนก็ใช้รับประทานเป็นผักได้เช่นกัน แต่ต้องนำมาต้มให้สุกเสียก่อน แล้วจึงนำไปใช้เป็นผักจิ้ม (ส่วนผลอ่อนดิบจะใช้เป็นผักจิ้มได้เลย) นิยมกินกับปลาร้า แต่ก็ใช้จิ้มกับน้ำพริกได้เหมือนกัน โดยจะมีรสชาติค่อนข้างขื่นขม แต่เมื่อเคี้ยวไปสักครู่จะรู้สึกออกรสหวานเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผลมะแว้งดิบ
- มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักของตำรับยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
- ผลสุกนำมาบีบใส่ตาไก่ที่มีอาการเจ็บตา หรือนำมาขยี้แล้วทาตาไก่บริเวณบวมหรือพอง
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://medthai.com
ฝากกดติดตาม/หรือกดถูกใจเพจ Facebook สองพี่น้องอินทรีย์ฟาร์ม ของเราด้วยนะคะ